วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

“ฮามาน”คือใคร


“ฮามาน” ในอัลกุรอาน
THE WORD "HAMAN" IN THE QUR'AN
ข้อมูลความรู้ในอัลกุรอานที่ได้ระบุไว้เกี่ยวกับอียิปต์โบราณนั้น ได้เปิดเผยถึงเรื่องราวความจริงทางประวัติศาสตร์อย่างมากมาย ที่ไม่เป็นที่เปิดเผยจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยังได้แสดงให้เราได้รู้ว่า ทุกๆคำในอัลกรุอานนั้นกล่าวจากภูมิปัญญาที่แท้จริง ฮามาน เป็นผู้ที่มีชื่อปรากฎในอัลกรุอานคู่กับชื่อ ฟาโรห์ เขาถูกกล่าวถึง 6 ครั้งในที่ต่างกันในอัลกุรอาน ในฐานะบุคคลที่ใกล้ชิดที่สุดของฟาโรห์แต่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่ชื่อ ฮามาน มิได้ถูกกล่าวถึงเลย ในคัมภีร์เตารอต (Old Testament) ส่วนที่กล่าวถึง ชีวิตของท่านนบีมูซา อาลัยฮิสสลาม ( Moses) แต่ไปปรากฏอยู่ในบทสุดท้ายของคัมภีร์ดังกล่าวในฐานะผู้ช่วยของกษัตริย์บาบิโลน ผู้กระทำทารุณชาวยิวอย่างโหดเหี้ยมหลายครั้งเมื่อประมาณ 1,100 ปี หลังจากสมัยนบีมูซา (อล.)
ผู้ที่มิใช่ชาวมุสลิมบางคนกล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซล) ได้เขียนอัลกุรอานขึ้นมาเอง โดยการคัดลอกจากคัมภีร์เตารอต และคัมภีร์ไบเบิ้ล (New Testament) ในระหว่างการคัดลอกนั้น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซล) ได้คัดลอกเรื่องราวจากทั้งเตารอตและไบเบิ้ล มาไว้ในอัลกุรอานอย่างผิดๆความไร้สาระของการกล่าวอ้างเหล่านี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดเมื่อมีการอ่านอักษรภาพของอียิปต์โบราณออกมาเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา และชื่อ ฮามาน ก็ถูกพบในต้นฉบับเอกสารโบราณชิ้นนี้
ก่อนหน้าการค้นพบนี้ยังไม่มีใครรู้ความหมายของบันทึก หรือจารึกของชาวอียิปต์โบราณ เนื่องจากในยุคนั้น ภาษาของชาวอียิปต์โบราณเป็นอักษรภาพที่เก่าแก่มาก แต่อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของศาสนาคริสต์ รวมทั้งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่างๆในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 และ 3 ชาวอียิปต์ก็ได้ละทิ้งความเชื่ออย่างโบราณๆ รวมไปถึงอักษรภาพด้วย ตัวอย่างอักษรภาพชิ้นสุดท้ายที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ จารึกในปี ค.ศ. 394 ซึ่งหลังจากนั้น ภาษาอักษรภาพเหล่านี้ได้ก็ได้ถูกลืมไป ไม่มีผู้ใดที่สามารถอ่าน และเข้าใจได้อีก ซึ่งนั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 200 ปี ที่ผ่านมาแล้วปริศนาของอักษรภาพอียิปต์โบราณได้ถูกไขออกในปี ค.ศ. 1799 ด้วยการค้นพบแผ่นศิลาจารึก ที่เรียกว่า “โรเซ็ตต้า สโตน” (Rosetta Stone) ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 196 ปีก่อนคริสต์กาล ความสำคัญของศิลาจารึกนี้ก็คือ เขียนด้วยอักษร 3 รูปแบบต่างกัน คือ อักษรภาพ อักษรเดโมติก (อักษรภาพอียิปต์โบราณที่ดัดแปลงให้ง่ายขึ้น) และอักษรกรีก และจากอักษรกรีกนี้เองทำให้สามารถถอดความจากบันทึกของชาวอียิปต์โบราณได้
ผู้ที่แปลคำจารึกนี้ได้เสร็จสมบูรณ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ จอง ฟรองซัวส์ ชองปอลลิยง (Jean-Francoise Champollion) ทำให้ทั้งภาษาที่ได้สาบสูญไป และเหตุการณ์ต่างๆที่กล่าวไว้ในจารึก เป็นที่ประจักษ์ และความรู้เกี่ยวกับอารยธรรม ศาสนา และสังคมของชาวอียิปต์โบราณ ก็กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนสามารถศึกษาได้ชื่อ ฮามาน นั้น ไม่เป็นที่รู้จัก จนกระทั่งได้มีการถอดความจากอักษรภาพของชาวอียิปต์โบราณในศตวรรษที่ 19 เมื่ออักษรภาพเหล่านั้นได้ถูกถอดความออกมา ก็เป็นที่รู้กันว่า “ฮามาน” ก็คือ บุคคลใกล้ชิดที่คอยช่วยเหลือฟาโรห์ ในฐานะ “หัวหน้าคนงานสกัดหิน” (ภาพข้างบนแสดงถึง คนงานก่อสร้างชาวอียิปต์โบราณ) ประเด็นที่สำคัญยิ่งก็คือ ฮามานได้ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานในฐานะผู้ควบคุมงานก่อสร้างตามคำสั่งของฟาโรห์ นั่นหมายความว่า ข้อมูลความรู้ที่ไม่มีผู้ใดเคยรู้มาก่อนในเวลานั้น กลับปรากฏอยู่ในอัลกุรอานจากการถอดความอักษรภาพนั้น ข้อมูลสำคัญชิ้นหนึ่งได้ระบุถึงชื่อ “ฮามาน” ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกของชาวอียิปต์ และชื่อนี้ยังได้ถูกนำไปไว้ในอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ ฮอฟ (Hof Museum) ในกรุงเวียนนา 22 ในพจนานุกรม “ประชาชาติในอาณาจักรใหม่” (People in the New Kingdom) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวม จารึกทั้งหมดนั้น คำว่า “ฮามาน” หมายถึง “หัวหน้าคนงานสกัดหิน” 23
สิ่งนี้แสดงถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญมาก ซึ่งแตกต่างไปจากคำยืนยันอย่างผิดๆของฝ่ายที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน โดยที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ว่า ฮามาน คือ บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในอียิปต์ ในสมัยท่านนบีมูซา(อล) เขาเป็นคนใกล้ชิดของฟาโรห์ และมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง ยิ่งกว่านั้น อัลกุรอานยังได้บรรยายถึงเหตุการณ์ เมื่อฟาโรห์ได้สั่งให้ฮามานสร้างหอคอยขึ้น ซึ่งก็ตรงกับหลักฐานต่างๆทางโบราณคดี “และฟิรเอาน์กล่าวว่า โอ้ปวงบริพารเอ๋ย ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน
โอ้ ฮามานเอ๋ย จงเผาดินให้ฉันด้วย แล้วสร้างโครงสูงระฟ้า
เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซาและแท้จริงฉันคิดว่าเขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ” (อัลกุรอาน 28:38)
กล่าวโดยสรุป การปรากฏชื่อ ฮามาน ในจารึกของชาวอียิปต์โบราณนั้น มิได้เพียงแต่ทำให้คำกล่าวอ้างที่ฝ่ายตรงข้ามกับอัลกุรอานที่สรรค์แต่งขึ้นมานั้นหมดความหมาย แต่กลับสนับสนุน ยืนยันถึงความจริงอีกครั้งว่า อัลกุรอานนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า ในแง่ความมหัศจรรย์ อัลกุรอานได้ถ่ายทอดให้เรารู้ถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ผู้ใดสามารถอธิบาย หรือเข้าใจมาก่อนเลยในช่วงเวลาของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซล.)
ตำแหน่งผู้ปกครองอียิปต์ในกรุอาน
TITLES OF EGYPTIAN RULERS IN THE QUR'AN
ท่านนบีมูซา(อล.) (Moses) มิใช่ศาสดาเพียงท่านเดียวที่อยู่ในดินแดนอียิปต์ ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ท่านนบียูซูฟ(อล.) (Joseph) ก็เคยอยู่ในอียิปต์เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าท่านนบีมูซา(อล.)นานแล้ว
มีบางอย่างที่สอดคล้องกัน ในเรื่องราวของท่านนบีมูซา(อล.) กับท่านนบียูซูฟ(อล.) การกล่าวพระนามผู้ปกครองอียิปต์ ในช่วงเวลาของท่านนบียูซูฟ(อล.) นั้น ในอัลกุรอานใช้คำว่า “มาลิก”(กษัตริย์) “และกษัตริย์ตรัสว่า จงนำเขามาหาฉันสิ ฉันจะแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ใกล้ชิดของฉันเมื่อยูซุฟได้สนทนากับพระองค์แล้ว พระองค์ตรัสว่า แท้จริงท่านอยู่ต่อหน้าเรา เป็นผู้มีตำแหน่งสูงเป็นที่ไว้วางใจ” (อัลกุรอาน 12:54)
แต่ทว่า ผู้ปกครองในช่วงเวลาของท่านนบีมูซา(อล.) กลับเรียกกันว่า “ฟาโรห์” หรือ “ฟิรเอาน์”
“และโดยแน่นอน เราได้ให้แก่มูซาสัญญาณต่างๆ อันแจ่มชัด 9 ประการ ดังนั้น เจ้าจงถามวงศ์วานของอิสรออีล เมื่อเขา(มูซา) มายังพวกเขา ฟิรเอาน์ ได้พูดกับเขาว่า โอ้ มูซา เอ๋ย แท้จริงฉันคิดว่าท่านถูกเวทย์มนต์อย่างแน่นอน” (อัลกุรอาน 17:101)
บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มีในปัจจุบัน แสดงให้เรารู้ถึงเหตุผลของข้อแตกต่างในการเรียกชื่อของผู้ปกครองทั้งสอง คำว่า “ฟาโรห์” นั้นเดิมเป็นชื่อเรียกพระราชวังในสมัยอียิปต์โบราณ ผู้ปกครองในราชวงศ์แต่ก่อนไม่ได้ใช้คำนี้เรียก มาเริ่มใช้ในยุค “อาณาจักรใหม่” (New Kingdom) ของประวัติศาสตร์อิยิปต์ สมัยราชวงศ์ที่ 18 ราวปี 1539 -1292 ก่อนคริสต์กาล และในยุคของราชวงศ์ที่ 20 ในปี 945 -730 ก่อนคริสต์กาล คำว่า “ฟาโรห์” ก็ได้ใช้หมายถึงตำแหน่งที่ควรเคารพยกย่อง
ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานได้ปรากฏให้เราได้รับรู้อีกครั้งหนึ่งว่า ท่านนบียูซูฟ(อล.) (Joseph) มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของ “อาณาจักรเก่า” (Old Kingdom) ซึ่งคำว่า “มาลิก” ใช้เรียกผู้ปกครองอียิปต์มาก่อนคำว่า “ฟาโรห์” ในทางตรงกันข้าม ในช่วงเวลาของท่านนบีมูซา (อล.) ใน “อาณาจักรใหม่” นั้น ผู้ปกครองอียิปต์จึงจะเรียกกันว่า “ฟาโรห์” เป็นที่แน่ชัดว่า เราต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์เสียก่อน ถึงจะสามารถเห็นข้อแตกต่างนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติของอียิปต์โบราณก็ได้เลือนหายสาบสูญไปหมดสิ้นในศตวรรษที่ 4 เช่นเดียวกับอักษรภาพ ซึ่งไม่เป็นที่เข้าใจได้ตั้งแต่นั้นมา และเพิ่งจะมีการค้นพบในศตวรรษที่ 19 ดังนั้น จึงไม่ปรากฏความรู้ทางประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณอย่างถี่ถ้วนเลย จนกระทั่งอัลกุรอานเผยแพร่ขึ้นมา สิ่งนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งจากบรรดาหลักฐานข้อเท็จจริงจำนวนมาก ที่พิสูจน์ได้ว่า อัลกุรอานนั้น เป็นวจนะของพระผู้เป็นเจ้า
นักโบราณคดีค้นพบเมืองอิรอม THE ARCHAEOLOGICAL FINDS OF THE CITY OF IRAM
เมื่อต้นปี ค.ศ.1990 หนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งได้ตีพิมพ์เรื่องการค้นพบเมืองอาหรับที่สาบสูญหรือ อุบัร แอตแลนติสแห่งทะเลทราย สิ่งจูงใจให้นักโบราณคดีค้นหาเมืองนี้คือเรื่องราวที่กล่าวไว้ในอัลอัลกุรอานนั่นเอง เรื่องราวของชาวอ๊าดและที่อยู่ของพวกเขาที่อัลกุรอานกล่าวถึงนั้นยังไม่มีการระบุสถานที่ที่แน่นอน การค้นพบสถานที่ดังกล่าวซึ่งเคยเป็นเพียงเรื่องเล่าของชาวเบดูอินเท่านั้น ทำให้การค้นหาสถานที่นี้เป็นสิ่งที่ท้าท้ายและน่าสนใจ นิโคลัส แคลพ นักโบราณคดี เป็นผู้ที่ค้นพบดินแดนในตำนานที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน แคลพเป็นผู้สนใจศาสนาเกี่ยวกับอาหรับและเป็นผู้ทำสารคดีที่ได้รับรางวัล เขาพบหนังสือประวัติศาสตร์อาหรับที่น่าสนใจโดยบังเอิญขณะที่เขาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์อาหรับ หนังสือเล่มนี้ชื่อ Arabia Felix เขียนในปี 1932 โดย เบอแทรม โทมัส นักค้นคว้าชาวอังกฤษ โดยบรรยายเกี่ยวกับคาบสมุทรอาหรับตอนใต้ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเยเมนและโอมานซึ่งมีชื่อเรียกในภาษากรีกว่า “Eudiamon Arabia”และในภาษาอาหรับเรียกว่า “อัลเยเมน แอสไซดะ”20 ชื่อดังกล่าวนั้นหมายถึง “ชาวอาหรับที่มีโชค” เพราะว่ากลุ่มชนที่อาศัยอยู่ดินแดนนี้ในเวลานั้นเป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขายเครื่องเทศระหว่างคาบสมุทรอาหรับตอนเหนือกับอินเดีย นอกจากนี้ยังสามารถผลิตยางหอมจากไม้หายากซึ่งเป็นสิ่งที่นิยมใช้ในอดีต ไม้หอมนี้ใช้เป็นเครื่องหอมในพิธีทางศาสนาอีกด้วย ไม้หอมนี้มีค่าเทียบเท่าทองคำในสมัยนั้น
เบอแทรม โทมัส นักค้นคว้าชาวอังกฤษที่บรรยายความโชคดีของชนกลุ่มนี้21กล่าวว่า เขาพบร่องรอยของเมืองโบราณนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเบดูอินในชื่อว่า อูบาร์ ในการเดินทางไปยังดินแดนนี้ ชาวเบดูอินที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายได้พาเขาไปดูเส้นทางที่ไปยังเมือง อูบาร์ แต่ เบอแทรม โทมัส ก็เสียชีวิตลงก่อนที่เขาจะศึกษาสำเร็จ หลังจากที่ นิโคลัส แคลพ ศึกษารายงานที่ เบอแทรม โทมัส เขียนก็มีความเชื่อมั่นในเรื่องดังกล่าวและการค้นหาของเขาก็เริ่มต้นขึ้น นิโคลัส แคลพ พยายามที่จะพิสูจน์เมือง อูบาร์ โดยใช้ 2 วิธีคือ วิธีแรกเขาหาร่องรอยเส้นทางที่ชาวเบดูอินกล่าวถึงโดยใช้ดาวเทียมขององค์การ NASA ถ่ายรูปบริเวณดังกล่าว22 หลังจากความพยายามอย่างหนักเขาก็สามารถโน้มน้าวผู้ที่มีอำนาจให้ถ่ายภาพบริเวณนั้นมาได้ วิธีที่สองนิโคลัส แคลพ ศึกษาแผนที่โบราณที่ห้องสมุดฮินติงตั้นในแคริฟอร์เนีย และเขาก็พบแผนที่ที่วาดโดย ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก-อิยิปต์ ซึ่งเขียนไว้ใน ค.ศ.200 ซึ่งแผนที่นี้แสดงตำแหน่งและเส้นทางที่จะนาไปสู่เมืองนี้ในขณะเดียวกัน นิโคลัส แคลพ ก็ได้รับภาพถ่ายจากองค์การ NASA ซึ่งสามารถเห็นร่องรอยของเส้นทางที่คาดว่ากองคาราวานจะใช้ในการเดินทาง เมื่อเปรียบเทียบกับแผนโบราณที่ที่ปโตเลมีเขียนแล้วก็เข้ากันได้กับภาพที่ได้จากดาวเทียม และปลายทางของเส้นทางนี้จะนำไปสู่เมืองที่ค้นหาอยู่ ในที่สุดเราก็รู้ตำแหน่งของเมืองในตำนานแห่งนี้และการขุดค้นก็เริ่มขึ้นในเวลาไม่นานเมืองโบราณที่อยู่ใต้ผืนทรายก็ถูกค้นพบและขนานนามว่า “แอตแลนติสแห่งทะเลทราย”แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเป็นเมืองของชาวอ๊าดที่ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานจริง สิ่งที่เป็นหลักฐานก็คือการค้นพบหอคอยหรืออาคารสูงหลายแห่งซึ่งในอัลกุรอานกล่าวไว้อย่างเจาะจงว่าเมืองอิรอมมีหอคอยหรืออาคารสูง ดร.ซารินหนึ่งในคณะค้นหาเมืองนี้กล่าวว่าหอคอยเป็นลักษณะเด่นของเมืองอูบาและเมืองอิรอมก็ได้รับการกล่าวกันว่ามีหอคอย นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าสถานที่ที่ถูกขุดค้นพบนี้คือเมืองอิรอม เมืองของชาวอ๊าดที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน อัลกุรอานกล่าวถึงเมืองอิรอมว่า
“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าพระเจ้าของเจ้ากระทำต่อพวกอ๊าดอย่างไรอิรอมพวกมีเสาหินสูงตระหง่าน ซึ่งเยี่ยงนั้นมิได้ถูกสร้างตามหัวเมืองต่างๆ”ซูเราะห์อัลฟัจรฺ อายะห์ที่ 6-8
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสิ่งที่บอกไว้ในอัลกุรอานเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตเป็นการยืนยันข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเป็นเรื่องจริงนั่นคืออัลกุรอานพระพจนารถของอัลลอฮ์
ชนชาวสะบะอฺและอุทกภัยอะริม
THE PEOPLE OF SABA AND THE ARIM FLOOD
แคว้นสะบะอฺ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยเมน - ผู้แปล) เป็นหนึ่งในสี่เมืองที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้ามากที่สุดในแถบอารเบียตอนใต้แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวสะบะอฺ กล่าวว่าชุมชนแห่งนี้มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการค้าขายเป็นอย่างมาก คล้ายกับชาวฟีนีเซีย (Pheonicia) ชาวสะบะอฺได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความเจริญก้าวหน้าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในหลักจารึกของผู้ปกครองแคว้นสะบะอฺ มีการใช้คำชั้นสูงอย่างคำว่า “ปฏิสังขรณ์” “อุทิศ” และ “สถาปนา” บ่อยครั้ง เขื่อนมาริบ (Marib Dam) เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดของชาวสะบะอฺ และยังเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดที่แสดงถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของชาวสะบะอฺอีกด้วย แคว้นสะบะอฺมีกองทหารที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคนี้ มีการวางนโยบายแผ่ขยายอาณาจักรของตนเองไว้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้เพราะมีกองทหารที่เข้มแข็ง และด้วยอารยธรรมที่ก้าวหน้าและกองทหารที่เข้มแข็งนี้เอง ทำให้ ชาวสะบะอฺเป็นหนึ่งใน “มหาอำนาจสูงสุด” ของภูมิภาคในยุคนั้นอัลกุรอานกล่าวถึงความเข้มแข็งอย่างที่สุดของกองทหารสะบะอฺไว้ ในซูเราะห์ อันนัมลฺ โดยอ้างถึงคำกล่าวของผู้บัญชาการทหารที่ถวายต่อพระราชินีแห่งแคว้นสะบะอฺว่า “เราเป็นพวกที่มีพลัง และเป็นพวกที่มีกำลังรบเข้มแข็ง (มีกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย และมีความเข้มแข็งอดทนในการทำสงคราม) สำหรับพระบัญชานั้นเป็นของพระนาง ดังนั้น พระนางได้โปรดตรึกตรองดู สิ่งใดที่พระนางจะทรงบัญชา” (อัลกุรอาน 27: 33)

เมืองหลวงของแคว้นสะบะอฺคือเมืองมาริบ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งสมบูรณ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ เมืองหลวงนี้ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำอัดฮานะห์ (Adhanah) บริเวณที่แม่น้ำไหลมาถึงภูเขาบาลัคนั้นเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการสร้างเขื่อน ด้วยความได้เปรียบนี้ ชาวสะบะอฺจึงได้สร้างเขื่อนและพัฒนาระบบชลประทานขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการให้กำเนิดอารยธรรมของตนเอง พวกเขาได้พัฒนาจนมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมาก เมืองหลวงมาริบจึงเป็นเมืองที่มีการพัฒนามากที่สุดในเวลานั้น พลีนี่ (Pliny) นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ผู้ที่ได้มาเยือนดินแดนแห่งนี้ ได้แสดงความชื่นชมเป็นอย่างมากและได้บรรยายความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแห่งนี้ไว้ในงานเขียนของเขาด้วย40เขื่อนแห่งมาริบนี้ มีความสูง 16 เมตร กว้าง 60 เมตร และยาวถึง 620 เมตร จากการคำนวณพบว่า พื้นที่ชลประทานทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อนแห่งนี้ มีมากถึง 9,600 เฮคเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นบริเวณทุ่งทางตอนใต้ 5,300 เฮคเตอร์ ส่วนที่เหลือเป็นบริเวณทุ่งทางตอนเหนือ โดยมีการอ้างถึงทุ่งทั้งสองแห่งไว้ในหลักจารึกของชาวสะบะอฺ41ว่า “มาริบและทุ่งทั้งสอง” ในอัลกุรอานได้กล่าวถึง “สวนทั้งสองแห่งทางขวาและทางซ้าย” เป็นการชี้ถึงสวนที่สวยงามและไร่องุ่นที่มีอยู่ในทุ่งทั้งสองแห่งนี้ผลจากการมีเขื่อนและระบบชลประทาน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นดินแดนที่มีระบบชลประทานดีที่สุดและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศเยเมน นาย เจ. โฮลวี่ (J. Holevy) ชาวฝรั่งเศส และนายเกลเซอร์ (Glaser) ชาวออสเตรีย ได้พบข้อพิสูจน์จากหลักฐานเอกสารต่างๆว่า เขื่อนมาริบแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในเอกสารซึ่งเขียนด้วยภาษา ไฮเมอร์ (Himer) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น กล่าวว่า เขื่อนแห่งนี้ทำให้อาณาบริเวณดังกล่าวอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก
หากเราพิจารณาอัลกุรอานโดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้างต้น เราจะสังเกตเห็นความสอดคล้องตรงกันอย่างยิ่ง หลักฐานทางโบราณคดีและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้งสองด้านนั้นตรงกับสิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอาน อายะห์ของอัลกุรอานกล่าวไว้ว่า พวกเขาเหล่านี้ ไม่เชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนของศาสดา และเป็นพวกที่ปฏิเสธความศรัทธาโดยสิ้นเชิง พวกเขาจึงถูกลงโทษโดยให้น้ำท่วมจนตาย อัลกุรอานได้บรรยายถึงอุทกภัยครั้งนี้ไว้ในอายะห์ต่อไปนี้
“โดยแน่นอน สำหรับพวกสะบะอฺนั้น มีสัญญาณหนึ่งในที่อาศัยของพวกเขา มีสวนสองแห่งทางขวาและทางซ้าย พวกเจ้าจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระเจ้าของพวกเจ้า และจงขอบคุณต่อพระองค์ อันเป็นดินแดนที่สมบูรณ์และมีพระเจ้าผู้ทรงให้อภัย”
“แต่พวกเขาได้ผินหลัง ดังนั้น เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนให้ท่วมพวกเขา และเราได้เปลี่ยนให้พวกเขา สวนทั้งสองแห่งของพวกเขาแทนสวนอีกสองแห่ง มีผลไม้ขม และต้นไม้พุ่ม และต้นพุทราบ้างเล็กน้อย เช่นนั้นแหละเราได้ตอบแทนพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเนรคุณ และเรามิได้ลงโทษผู้ใด (ด้วยการลงโทษอย่างรุนแรงเช่นนี้) นอกจากพวกเนรคุณ” (อัลกุรอาน 34:15-17)
ในอัลกุรอานนั้น เรียกการลงโทษที่มีต่อชาวสะบะอฺว่า “ไซลัลอะริม” ซึ่งหมายถึง “อุทกภัยแห่งอะริม” ข้อความในอัลกุรอานส่วนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการเกิดหายนะครั้งนี้ คำว่า “อะริม” หมายถึง เขื่อน หรือผนัง คำว่า “ไซลัลอะริม” จึงแสดงถึงน้ำท่วมที่เกิดจากการพังทลายของเขื่อนแห่งนี้ นักวิเคราะห์อิสลามสามารถตอบปัญหาในเรื่องเวลาและสถานที่ของเหตุการณ์นี้ได้จากข้อความในอัลกุรอานที่กล่าวถึง น้ำท่วมแห่งอะริม ดังที่เมาดูดิ (Mawdudi) แสดงความเห็นไว้ว่า
“จากการใช้ข้อความว่า ไซลัลอะริม นั้น คำว่า “อะริม” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “อะริมีน” เป็นภาษาท้องถิ่นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งหมายถึงเขื่อน หรือผนัง ในซากปรักหักพังใต้พื้นดินในอุโมงค์ที่ขุดขึ้นในประเทศเยเมน มีการใช้คำนี้ในความหมายเดียวกันนี้หลายครั้ง เช่นในหลักจารึกที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์อับรอฮะห์ (Ebraha) ราชวงศ์ฮาเบช (Habesh) แห่งประเทศเยเมน ภายหลังการซ่อมแซมเขื่อนใหญ่แห่งมาริบ ในปี ค.ศ. 542 และ 543 คำนี้ถูกใช้หมายถึง เขื่อน (ผนัง) หลายครั้งด้วยกัน ดังนั้น ข้อความ “ไซลัลอะริม” จึงหมายถึง อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลังจากการพังถล่มของเขื่อน
“...และเราได้เปลี่ยนให้พวกเขา สวนทั้งสองแห่งของพวกเขาแทนสวนอีกสองแห่ง มีผลไม้ขม และต้นไม้พุ่ม และต้นพุทราบ้างเล็กน้อย...” (อัลกุรอาน 34:16)
หมายถึงเหตุการณ์หลังจากการถล่มของเขื่อน ทั่วทั้งประเทศจมอยู่ใต้น้ำ คลองที่ขุดขึ้นโดยชาวสะบะอฺและกำแพงที่สร้างเชื่อมต่อกันระหว่างภูเขาได้พังทลายลง ระบบชลประทานก็ใช้การไม่ได้ ทำให้อาณาบริเวณซึ่งเคยเป็นสวนที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน กลายสภาพเป็นป่าที่ไม่มีไม้ผลเหลืออยู่เลย เหลือเพียงต้นไม้พุ่มเล็กๆ และต้นพุทราเพียงเล็กน้อยเท่านั้น42
นักโบราณคดีชาวคริสเตียน ชื่อ เวอร์เนอร์ เคลเลอร์ (Werner Keller) ผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Holy Book Was Right” ยอมรับว่า เหตุการณ์อุทกภัยแห่งอะริมนั้นเกิดขึ้นจริงตามที่ได้บรรยายไว้ในอัลกุรอาน เขายังเขียนยืนยันไว้อีกว่าเขื่อนในลักษณะดังกล่าวนั้นมีอยู่จริง และการล่มสลายของประเทศที่เกิดจากการพังทลายของเขื่อนนั้นเป็นหลักฐานว่า เรื่องราวในอัลกุรอานที่กล่าวถึงประชาชาติในสวนที่อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องจริง43
หลังจากหายนะจากอุทกภัยแห่งอะริมแล้ว พื้นที่บริเวณดังกล่าวก็แปรเปลี่ยนไปเป็นทะเลทราย และชาวสะบะอฺต้องเสียขุมทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของพวกเขาไปพร้อมกับพื้นที่เกษตรกรรมที่สูญสลายไป ประชาชนผู้ซึ่งเพิกเฉยต่อการเชิญชวนให้เชื่อในพระเจ้า และขาดการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและความเมตตาของพระองค์ ต้องถูกลงโทษด้วยหายนะดังกล่าวในที่สุด
การค้นพบของนักโบราณคดีเกี่ยวกับชาวซะมูด Archaeological Finds About Thamud
ในบรรดาประชาชาติต่างๆ ที่กล่าวไว้ในอัลกุรอานนั้น ชาวซามูตเป็นหนึ่งในประชาชาติที่เรามีข้อมูลความรู้มากที่สุดในปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในปัจจุบัน ยืนยันว่า ชาวซามูตนั้น มีอยู่จริง
ชุมชนชาวอัลฮิจร ที่กล่าวถึงในอัลกุรอานนั้น เป็นชนชาติเดียวกับชาวซามูต ซึ่งอีกชื่อหนึ่งของชาวซามูตคือ อะชาบ อัลฮิจร คำว่า “ซามูต” เป็นชื่อเรียกของคนในชนชาตินี้ ส่วนอัลฮิจร เป็นเมืองหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยชนกลุ่มเดียวกันนี้ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ พลีนี่ (Pliny) เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานนี้ พลีนี่ เขียนถึง เมืองดมาธา (Domatha) และ เฮกรา (Hegra) ว่าเป็นเมืองที่ชาวซามูตอาศัยอยู่ และเฮกราเป็นส่วนหนึ่งของเมืองฮิจร ในปัจจุบัน29
แหล่งข้อมูลเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงชาวซามูตคือ บันทึกประวัติศาสตร์แห่งชัยชนะของกษัตริย์ซาร์กอนที่สอง (Sargon II) แห่งอาณาจักรบาบิโลน (ประมาณ 800 ปี ก่อนคริสต์กาล) ผู้ทรงมีชัยชนะเหนือกลุ่มชนนี้ในการสู้รบทางภาคเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ชาวกรีกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ซะมูดี (Thamudaei) พวกเขาสาบสูญไปก่อนช่วงเวลาของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) (ประมาณ ค.ศ. 400-600)
ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงชาวอ๊าดและชาวซามูตไว้ด้วยกันเสมอ นอกจากนี้ ในหลายอายะห์ของอัลกุรอานได้เตือนชาวซามูต ให้ดูการล่มสลายของชาวอ๊าดเป็นตัวอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวซามูตนั้นรู้จักชาวอ๊าดเป็นอย่างดี
"และพวกท่านจงรำลึกขณะที่พระองค์ได้ทรงให้พวกท่านเป็นผู้สืบช่วงแทนมา หลังจากชาวอ๊าด และได้ทรงให้พวกท่านตั้งหลักแหล่งอยู่ในแผ่นดินส่วนนั้น โดยยึดเอาจากที่ราบของมันเป็นวัง และสกัดภูเขาเป็นบ้าน พวกท่านพึงรำลึกถึงความกรุณาของอัลลอฮ์เถิด และจงอย่าก่อกวนในแผ่นดินในฐานะผู้บ่อนทำลาย "
(ซูเราะห์อัลอะรอฟ: 74)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น