วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ฮาลาล (1)
ฮาลาลคืออะไร
คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )
คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )
“ฮาลาล” เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า “ฮารอม” ที่มีความหมายทั่วไปว่า ห้าม และเมื่อนำมาใช้ในทางศาสนาจะมีความหมายว่า สิ่งที่ศาสนาห้าม
การอนุมัติสิ่งใด หรือการห้ามสิ่งใดใสศาสนาอิสลามเป็นประกาศิตที่มาจากอัลเลาะห์ผู้เป็นเจ้า และมาจากศาสนทูตของพระองค์เท่านั้น ถือเป็นหลักสำคัญที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่ต้องค้นหาเหตุผลการอนุมัติ หรือเหตุผลการห้ามแต่อย่างใด เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้ เพราะมุสลิมมีความเชื่อมั่นศรัทธาว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าอนุมัติเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ส่วนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าห้ามเป็นสิ่งที่มีพิษภัยและมีโทษ พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาทราบดีถึงสิ่งที่เป็นและเป็นโทษต่อมนุษย์ พระองค์จึงอนุมัติสิ่งที่เป็นคุณและห้ามสิ่งที่เป็นโทษ
ส่วนเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบว่ามีข้อดีในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และมีข้อเสียในสิ่งที่ศาสนาห้าม โดยพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้และได้นำมาอ้างอิงนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลักสำคัญ เพราะเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ส่วนประกาศิตของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลง
ในเมื่ออิสลามเป็นระบอบในการดำเนินชีวิตของมุสลิมชีวิตของมุสลิมจึงผูกพันอยู่กัลป์ศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย การกระทำทุกอย่างของมุสลิมต้องดำเนินอยู่ในกรอบที่ศาสนากำหนดในทุกกรณีทั้งเรื่องความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสัตว์ มุสลิมต้องมีความเมตตาสงสารสัตว์ การกักขังสัตว์โดยไม่ให้อาหารเป็นเหตุให้ตกนรก การกลั่นแกล้งรังแกสัตว์ จะต้องถูกนำไปใต่สวรต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า การเชือดสัตว์เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้ภายใต้กรอบที่เชือดเพื่อเป็นอาหาร ไม่กระทำทรมานสัตว์ ต้องเชือดด้วยมีดที่คม ต้องให้สัตว์ล้มลงนอนอย่างดี ขณะเชือดต้องกล่าวนามของพระผู้เป็นเจ้า
ฮาลาลและฮารอมในชีวิตส่วนตัวของมุสลิม
เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม
ประชาชาติและเผ่าพันธุ์มนุษย์มีทัศนะที่แตกต่างกันในเรื่องอาหารและเครื่องดื่มว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอนุมัติและสิ่งใดเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขามาช้านานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่มาจากสัตว์
สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ได้มาจากพืชนั้น มนุษย์เราไม่มีทัศนะที่แตกต่างกันมากนัก อิสลามไม่ได้ห้ามอาหารที่ได้มาจากพืช ยกเว้นสิ่งที่เกิดจากการนำไปหมักจนกลางเป็นสุรา ไม่ว่าจะผลิตจากองุ่น อินทผลัม ข้าวบาร์เลย หรือวัตถุอื่นใดก็ตาม เมื่อกลายสภาพเป็นสุรา เช่นเดียวกับที่อิสลามห้ามสิ่งที่ทำให้มึนเมาและขาดสติ และที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ส่วนอาหารที่ได้มาจากสัตว์นั้น ศาสนาและลัทธิต่าง ๆ มีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวาง
การเชือดสัตว์และการบริโภคเนื้อในลัทธิต่าง ๆ
มีผู้คนหลายพวก เช่น พวกพราหมณ์และนักปรัชญาบางกลุ่มที่ห้ามเชือดสัตว์และห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ และดำรงชีพด้วยการกินอาหารมังสวิรัติ คนกลุ่มนี้อ้างว่าการฆ่าสัตว์นั้นเป็นความทารุณโหดร้ายที่มนุษย์กระทำต่อสัตว์ที่มีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ เมื่อสัตว์มีชีวิต มนุษย์ก็ไม่มีสิทธิที่ จะทำลายชีวิตของสัตว์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึงสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่อัลเลาะห์สร้างขึ้นมา เราจะพบว่าสัตว์ทั้งหลายมิได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตัวของมันเอง ทั้งนี้เพราะมันไม่มีสติปัญญาหรือสิทธิ์ที่จะเลือก และเราจะพบอีกว่า สภาพทางธรรมชาติของมันก็อยู่ในลักษณะที่ถูกสร้างมาเพื่อรับใช้มนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่ามนุษย์น่าจะได้รับประโยชน์จากเนื้อของมันหลังจากที่มันถูกเชือด เช่นเดียวกับที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์จากการใช้งานมันขณะเมื่อมันมีชีวิตอยู่
เราจะพบได้อีกเช่นเดียวกันว่าในการสร้างสรรค์ของอัลเลาะห์นั้นพระองค์ได้วางกฎไว้ให้ สิ่งที่อยู่ตระกูลที่ต่ำกว่าต้องอุทิศตนแก่สิ่งที่อยู่ในตระกูลที่สูงกว่า ด้วยเหตุนี้พืชจึงถูกตัดไปเป็นอาหารสัตว์ และสัตว์จะถูกเชือดเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ และยิ่งไปกว่านั้นคน ๆ เดียวกันอาจต้องต่อสู้ และเสียสละชีวิตเพื่อคนจำนวนมาก
และการที่มนุษย์ไม่ฆ่าสัตว์ก็ใช่ว่าสัตว์จะรอดพ้นจากความตายและการถูกทำลายไปได้ คือถ้ามันไม่ตกเป็นเหยื่อของสัตว์อื่นมันก็จะต้องตายเองอยู่ดี และมันอาจได้รับความเจ็บปวดยิ่งกว่าโดยคมมีดที่มาคร่าชีวิตของมันด้วยความรวดเร็ว
ในศาสนาของยิวและคริสต์ซึ่งรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้านั้น อัลเลาะห์ได้ห้ามพวกยิวกินสัตว์ทะเลมากมายกลายชนิด คัมภีร์กุรอานเองก็ได้เอ่ยถึงสิ่งที่อัลเลาะห์ได้ทรงห้ามแก่พวกคนยิว ทั้งนี้เพื่อเป็นการลงโทษพวกยิวในฐานที่ดื้อดึงและทำบาปไว้หลายอย่างเช่น อายะห์ที่ว่า
“และสำหรับพวกยิว เราได้ห้ามสัตว์มีกีบที่ไม่แยกเป็นสองกีบทุกชนิด ส่วนวัวและแพะเราได้ห้ามแก่พวกเขาบริโภคไขของมัน เว้นแต่ที่ติดอยู่บนหลังของมันหรือตามลำไส้หรือแทรกอยู่ในกระดูก เช่นที่กล่าวนั้น เราได้ลงโทษพวกเขาเพราะการละเมิดของพวกเขาและแท้จริงเราเป็นผู้ที่สัตย์จริง” (อัลอันอาม: 146)
ทัศนะของชาวอาหรับก่อนอิสลาม
สำหรับชาวอาหรับในยุคก่อนอิสลามได้ห้ามสัตว์บางอย่างในฐานะที่เป็นสัตว์สกปรกและบางอย่างก็ถูกถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะละเมิดไม่ได้ และเป็นสัตว์ที่พลีอุทิศให้แก่เทวรูปของตน แต่ในทางตรงกันข้าม ชาวอาหรับกลับอนุญาตอาหารที่ไม่บริสุทธิ์หลายอย่างเช่น เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้ว และเลือด เป็นต้น
อิสลามอนุญาตสิ่งที่ดีมีเป็นประโยชน์
ขณะที่ศาสนาอิสลามมาปรากฏสภาพของมนุษย์ก็ยังคนเป็นอยู่อย่างที่กล่าวในเรื่องของการบริโภคเนื้อสัตว์ระหว่างพวกที่ถือว่าเนื้อสัตว์ทุกอย่างเป็นที่อนุมัติ ส่วนอีกพวกหนึ่งถือว่าเนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้นอัลเลาะห์จึงได้ชี้นำมนุษย์ชาติทั้งมวลว่า
“มนุษย์ชาติทั้งหลายเอ๋ย จงบริโภคสิ่งอนุมัติจากที่มีอยู่ในแผ่นดิน และอย่าปฏิบัติตามรอยเท้าของมารร้ายซัยตอน เพราะแท้จริงมันเป็นศัตรูของพวกเจ้าอย่างชัดเจน “(อัลบะกอเราะห์ :168 )
อัลเลาะห์เรียกพวกเขาในฐานะ “มนุษยชาติ” ให้บริโภคอาหารที่ดีที่พระองค์ได้จัดทรงจัดหาไว้ให้พวกเขาบนโลกอันเปรียบได้เสมือนโต๊ะอาหารขนาดใหญ่ และห้ามพวกเขาไม่ให้เจริญรอยตามแนวทางของมารซัยตอนที่ล่อลวงผู้คนให้ห้ามปรามสิ่งดีมีประโยชน์ และมันจะชักนำมนุษย์ไปสู่กับดักแหล่งการทำลายตนเอง หลังจากนั้นอัลเลาะห์ได้แนะนำบรรดาผู้มีศรัทธา โดยเฉพาะว่า
“โอ้บรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน และพวกท่านจงขอบคุณอัลเลาะห์ถ้าหากพวกท่านเคารพภักดีแต่พระองค์เท่านั้น ที่จริงพระองค์ได้ทรงห้ามพวกท่านเฉพาะแต่เพียง ซากสัตว์ เลือด เนื้อของสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดบูชาโดยเอ่ยนามอื่นนอกจาก อัลเลาะห์ ดังนั้นผู้ใดที่ตกอยู่ในภาวะคับขัน โดยไม่มีเจตนาขัดขืนและไม่ใช่เป็นการละเมิดก็ไม่มีบาปตกแก่พวกเขา แท้จริงอัลเลาะห์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลบะกอเราะห์ : 172-173 )
คำประกาศนี้มุ่งเฉพาะผู้มีศรัทธาเท่านั้น อัลเลาะห์บัญชาใช้พวกเขาให้บริโภคสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงจัดไว้เป็นปัจจัยยังชีพพวกเขา และให้พวกเขามีสำนึกในความกรุณาของพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงอธิบายต่อไปว่า พระองค์ไม่ได้ห้ามพวกเขาบริโภค ยกเว้นอาหารสี่อย่างดังที่ได้กล่าวไว้ในโองการข้างต้น และอาหารที่มีระบุไว้ในโองการอื่น ๆ และโองการที่จัดเจนที่สุดที่พูดถึงอาหารสี่อย่างเป็นการเฉพาะคือ คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาที่ว่า
“ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ฉันไม่พบว่ามีสิ่งใดที่ถูกเผยแก่ฉันเป็นสิ่งต้องห้ามแก่ผู้ที่จะบริโภคมัน เว้นแต่สัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออกมา หรือเนื้อของสุกร เพราะแท้จริงมันเป็นสิ่งสกปรก หรือสัตว์ที่เป็นการฝ่าฝืนที่เปล่งนามอื่นไปจากอัลเลาะห์ขณะเชือด ดังนั้นผู้ใดตกอยู่ในภาวะคับขัน โดยไม่ได้มีเจตนาขัดขืนและไม่ใช่เป็นการละเมิด เพราะแท้จริงองค์อภิบาลของท่านเป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลอันอาม : 145)
ในซูเราะห์ อัลมาอิดะห์ อัลกุรอานได้กล่าวถึงสัตว์ต้องห้ามเหล่านี้ พร้อมรายละเอียดมากยิ่งขึ้นว่า
“เป็นที่ต้องห้ามเหนือพวกท่าน คือซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดบูชาโดยเอ่ยนามอื่นจากอัลเลาะห์ สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย สัตว์ที่ถูกตีจนตาย สัตว์ที่ตกมาจากที่สูงตาย สัตว์ที่ถูกขวิดตาย สัตว์ที่ถูกสัตว์ดุร้ายกิน เว้นแต่ที่สูเจ้าเชือดทัน และสัตว์ที่ถูกเชือดพลีบนแทนหิน บูชา...” (อัลมาอิดะห์ : 3)
เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวี
แปลโดย : มุอฺมิน Oct 02, 2008 124.120.143.209 เรียบเรียงโดย (นัชมุดดีน ตอฮีรี)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ทุกวินาทีของเราไม่เคยรอดพ้นจากบันทึกของรอกิบ-อาติด
ตอบลบ