วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กำเนิดราชวงศ์อุมาวียะห์



กำเนิดราชวงศ์อุมาวียะห์
ราชวงค์อุมาวียะห์สืบเชื้อสายมาจากอุไมยะห์บุตร อับดุลชัมซ์ บินฮาร์บ บินอับดุลมานาน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญจากเผ่ากุเรชที่รู้จักกันในช่วงก่อนอิสลาม อุไมยะห์มีคุณลักษณะพิเศษในด้านความกล้าหาญและมีความชำนาญในการทำสงคราม ประกอบกับเป็นบุคคลที่ร่ำรวยจึงกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากกว่าผู้อื่น ซึ่งมาจากเผ่ากุเรชด้วยกัน เช่น เผ่าบินฮาชิมและบนีมุฎตอลิบ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างอุไมยะห์กับบนีชิมและมุฎตอลิบเป็นไปด้วยดีตลอดมา ไม่เคยมีการขัดแย้งระหว่างกัน จนถึงช่วงที่อิสลามได้ปรากฎขึ้นในนครมักกะฮ์ โดยการนำของมุฮัมมัดบินอับดุลลอฮ์ที่มาจากเผ่าบนีฮาชิม ในขณะนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าทั้งสองเริ่มเสื่อมคลายลง เนื่องจากบนีอุไมยะห์เป็นผู้คัดค้านการเผยแพร่ศาสนาอิสลามอย่างรุนแรง แต่บนีฮาชิมและบนีมุฎตอลิบคอยให้การอุปการะตัวท่านศาสดาและอิสลามตลอดมา ไม่ว่าพวกเขาจะยอมเข้ารับนับถืออิสลามหรือไม่ก็ตาม ส่วนเผ่าบนีอุไมยะห์ไม่ยอมเข้ารับนับถืออิสลาม แต่มาช่วงหลัง ๆ พวกเขาเองเห็นว่าไม่มีลู่ทางอื่นใดที่พวกเขาจะเลือกและเอาชนะต่อท่านศาสดา ซึ่งมีผู้สนับสนุนมากเพิ่มขึ้นทุกวัน เผ่า บนีอุไมยะห์จึงประกาศเข้ารับอิสลามในวันเปิดนครมักกะฮ์นั้นเอง อุมาวียะห์บินอบีซุฟยานได้ประกาศเข้ารับอิสลามในท่ามกลางชุมชนมุสลิม หลังจากนั้นก็มีบุคคลอื่น ๆ จากเผ่าอุไมยะห์ได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามกันมากมาย
นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า จากทุก ๆ เผ่าที่เป็นศัตรูต่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามของท่านศาสดานั้น เผ่าบนีอุไมยะห์เป็นเผ่าที่เข้ารับอิสลามหลังสุด และหลังจากที่เผ่าบนีอุไมยะห์ได้เข้ารับอิสลามแล้ว พวกเขาได้ทำตนเป็นบุคคลที่มีบทบาทและเป็นกำลังอันเข้มแข็งในการเผยแพร่อิสลาม จากความเพียรพยายามของพวกเขาทำให้ความรู้สึกของชาวมุสลิมที่เคยอคติต่อชนเผ่านี้หมดสิ้นไป บทบาทสำคัญของเผ่าบนีอุไมยะห์มีมากมาย เช่น การไปร่วมในการทำสงครามริดดะห์ และสงครามปราบปรามผู้ที่ไม่ยอมจ่ายทานซากาต เวลาต่อมาเผ่าบนีอุไมยะห์ก็ได้เข้าไปบุกเบิกหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่นอกคาบสมุทรอาหรับ เช่น เมืองที่อยู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และได้นำอิสลามเข้าสู่ทวีปอัฟริกาอีกด้วย
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์มุอาวียะห์

มุอาวียะห์บุตรของ อบีซุฟยานบินฮารับบินอุไมยะห์ เป็นบุคคลคนแรกที่ก่อตั้งราชวงศ์อุมาวียะห์ ราชวงศ์นี้มีอำนาจปกครองอาณาจักรอิสลามยาวนานถึง 50 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ 41 – 123 ฮิจเราะฮ์
มุอาวียะห์กำเนิดในนครมักกะฮ์ ก่อนที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด ( ศอลฯ ) รับโองการเป็นร่อซูลได้ 5 ปี มุอาวียะห์ได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามในวันเปิดนครมักกะฮ์ พร้อมกับบุคคลในครอบครัวคือ พ่อ แม่ และยาซีดซึ่งเป็นพี่ชายของท่านเอง ในขณะนั้นมูอาวียะห์อายุได้ 23 ปี
เมื่อครอบครัวของอบีซุฟยานเข้ารับนับถืออิสลามทำให้ชาวมุสลิมปิติยินดีเป็นอย่างมาก ท่านศาสดาเองก็แสดงความดีใจ จึงพยายามที่จะทำให้ครอบครัวอบีซุฟยานและบุคคลอื่น ๆ ตั้งให้มุอาวียะห์เป็นผู้บันทึกโองการของท่านศาสดา จึงเป็นเหตุให้มุอาวียะห์มีความใกล้ชิดกับท่านศาสดามากผู้หนึ่ง ได้รู้และเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับท่านศาสดา ต่อมามุอาวียะห์ได้กลายเป็นนักรายงานหะดีษที่สำคัญ เนื่องจากท่านได้ยินคำพูดของท่านศาสดาเอง ตลอดจนได้รับรายงานหะดีษจากศอฮาบะฮ์และภรรยาของท่านศาสดา คือ อุมฮาบีบะฮ์ บินตุ อบีซุฟยาน
มุอาวียะห์เริ่มมีบทบาทมากมายเมื่อตอนเกิดสงครามริดดะห์ ซึ่งตรงกับสมัยของท่านอบูบักร์เป็นคอลีฟะห์คนแรก ท่านได้แต่งตั้งให้ยาซีด บุตร อบีซุฟยานเป็ฯแม่ทัพที่นำกำลังไปทำการบุกเบิกเมืองซีเรีย ในขณะที่ยาซีดนำกำลังไปล้อมเมืองดามัสกัด ปรากฎว่ากำลังทหารของโรมันเหนือกว่ากำลังทหารมุสลิม ยาซีดจึงขอกำลังเพิ่มเติม ซึ่งท่านอบูบักได้เตรียมกำลังอย่างมากมาย เพื่อส่งไปสมทบกับกำลังของยาซีด โดยแต่งตั้งให้มูอาวียะห์เป็นหัวหน้านำกองกำลังเข้าปิดล้อมเมืองไซดาและเมืองเบรุต ตลอดจนหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในแนวชายฝั่งซีเรียได้สำเร็จ ด้วยการใช้เวลาหลายปี ในที่สุดทหารมุสลิมก็ได้รับชัยชนะ ซึ่งตรงกับสมัยของอุมัร บินค๊อตตอบ เป็นคอลีฟะห์ ซึ่งขณะนั้นท่านได้ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ยาซีด บุตร อบีซุฟยานเป็นผู้ปกครองเมืองดามัสกัด และได้แต่งตั้งให้มุอาวียะห์ปกครองเมืองจอร์แดน หลังจากนั้นไม่นานยาซีดได้ถึงแก่กรรมลงในปี 18 ฮิจเราะห์ ค่อลีฟะห์อุมัร บิน ค๊อตตอบได้ออกคำสั่งแต่งตั้งให้มุอาวียะห์ปกครองดินแดนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของยาซีด
ต่อมาเมื่อสมัยของอุสมาน บิน อัฟฟานเป็นค่อลีฟะห์ ท่านได้แต่งตั้งให้มุอาวียะห์ปกครองเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีอำนาจสูงสุด สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าเมืองใดตามความประสงค์ของตนเองได้ โดยไม่ต้องรับคำสั่งจากคอลีฟะห์ เมื่อมุอาวียะห์ผนวกแผ่นดินในซีเรียทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของตนเพียงผู้เดียว การปกครองของมุอาวียะห์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับระบอบการปกครองของจักรพรรดิ์โรมันมากที่สุด
เมื่อปี 34 ( ฮ.ศ ) หัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของค่อลีฟะห์อุสมาน เช่น อียิปต์ เยเมน และแบกแดด เกิดความไม่พึงพอใจต่อนโยบายการปกครองของค่อลีฟะห์อุสมานที่แต่งตั้งบุคคลใกล้ชินเป็นผู้ปกครองเมืองสำคัญ ๆ เพราะท่านถือว่าสามารถที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ จากความไม่พอใจดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้มีการบุกเข้าสังหารชีวิตค่อลีฟะห์ ในปี 35 ( ฮ.ศ ) จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นโอกาสให้มุอาวียะห์มีอำนาจในซีเรียแต่เพียงผู้เดียว ขณะนั้นอาลีขึ้นเป็นค่อลีฟะห์คนต่อมา พวกบนีอุไมยะห์และผู้ที่ให้การสนับสนุนแก่มุอาวียะห์เสนอให้อาลีผู้เป็นค่อลีฟะห์จะต้องดำเนินการอย่างรีบด่วนแก่ผู้ที่สังหารค่อลีฟะห์อุสมาน มิเช่นนั้นตนจะไม่ยอมรับในการเป็นค่อลีฟะห์ของอาลี ส่วนตัวของอาลีเองได้เล็งเห็นว่ากรรณีดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มีผลต่อการปกครองอย่างยิ่ง จึงทำให้การสอบสวนกรณีฆาตกรรมต้องล่าช้า ขณะนั้นมุอาวียะห์แสดงออกถึงการเป็นศัตรูกับอาลีและผู้สนับสนุน จนเกิดการต่อสู้และสงครามขึ้นระหว่างกองกำลังทหารมุอาวียะห์กับกองกำลังทหารฝ่ายอาลีที่สมรภูมิศ้อฟเฟนในปี 37 ( ฮ.ศ ) ในการทำสงครามครั้งนี้ปรากฎว่ากองกำลังฝ่ายมุอาวียะห์กำลังเพลี่ยงพล้ำจะเสียเปรียบ ฝ่ายมุอาวียะห์จึงใช้กลวิธีเพื่อทำให้สงครามยุติลง โดยที่ประกาศให้ทั้งสองยุติการต่อสู้กันแล้วมาพิจารณากันตามพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะห์ปรากฎว่าอาลีเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว นี้คือจุดเริ่มทำให้เกิดกรแตกแยกในวงการทหารของอาลี ทำให้อาลีต้องแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือผู้ที่ให้การสนับสนุนต่ออาลี ซึ่งเรียกว่า ชีอะฮ์ และผู้คัดค้านต่อการยอมรับของอาลีซึ่งเรียกว่า ค่อวาริจญ์ กลุ่มสุดท้ายเรียกว่าผู้ที่มีความหวังในความโปรดปรานของพระเจ้า
ในปี 40 ( ฮ.ศ ) คอลีฟะห์อาลีได้ถึงแก่กรรม ประชาชนในเมืองกูฟะฮ์ และเมืองแบกแดดได้ร่วมใจกันสถาปนาฮาซัน บินอาลี เป็นค่อลีฟะห์คนต่อมา เนื่องจากฮาซันเล็งเห็นในปัญหายุ่งยากหลายประการที่บิดาท่านได้ประสบมาตลอดเวลาที่เป็นค่อลีฟะห์ ประกอบกับผู้ให้การสนับสนุนท่านจากเมืองกูฟะห์และแบกแดดมีกำลังไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังทหารของมุอาวียะห์ ฮาซันจึงได้ประกาศมอบอำนาจการปกครองให้แก่มุอาวียะห์เพียงผู้เดียว แม้ว่าจะถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากฮุเซ็น บินอาลีก็ตาม
ในเดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล ปีที่ 41 ( ฮ.ศ ) มุอาวียะห์ได้เดินทางไปยังเมืองกูฟะห์เพื่อตกลงกับฮาซัน ซึ่งในขณะนั้นฮาซันและฮูเซ็นได้ให้คำสัตยาบันสนับสนุนแก่มุอาวียะห์ จากนั้นชาวเมืองกูฟะห์ก็พากันมาให้การสัตยาบันแก่มุอาวียะห์ด้วย บรรดานักประวัติศาสตร์เรียกปีนี้ว่า “ ปีแห่งความสามัคคี” เนื่องจากทุกฝ่ายยอมรับต่อผู้ปกครองคนเดียว ต่อจากนั้นมุอาวียะห์ก็ได้ประกาศก่อตั้งกรุงดามัสกัดเป็นราชธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น